จุดประสงค์หลักของการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีนี้คือ การกำจัดBOD เป็นการกำจัดสารอินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำเสียซึ่งก่อให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย โดยอาศัยหลักการที่ใช้จุลพีชต่างๆมาทำการย่อยสลายแปรเปลี่ยนสภาพของสารอินทรีย์ต่างๆไปเป็นก๊าซCO2(ถ้าใช้ระบบเติมอากาศ) หรือไปเป็นก๊าซCH4(ถ้าใช้ระบบไม่เติมอากาศ) จะเห็นได้ว่าการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางด้านชีวเคมี (Biochemistry) และจุลชีววิทยา(Microbiology) มาช่วยสนับสนุนให้เข้าใจลึกซึ้งขึ้น
1. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบโปรยกรอง (Trickling Filters)
2. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactors,RBC)
3. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอเอส (Activated Sludge)
4. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ (Anaerobic Treatment)
5. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อธรมชาติ (Pond)
6. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์(Constructed Wetland)
1 .ระบบบำบัดน้ำเสียแบบโปรยกรอง (Trickling Filters)
ระบบโปรยกรองเป็นระบบทีมีจุลินทรีย์เจริญเติบโตอยู่บนผิวตัวกลาง น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดขั้นต้นแล้วจะถูกปล่อยให้ไหลผ่านชั้นของตัวกลาง จุลินทรีย์ที่เกาะติดอยู่บนตัวกลางจะใช้ออกซิเจนทำปฏิกิริยาย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย น้ำที่ผ่านระบบจะถูกส่งไปเข้าถังตกตะกอนสุดท้ายเพื่อแยกสลัดจ์ออกให้ได้น้ำทิ้งที่สามารถระบายทิ้งได้
องค์ประกอบที่สำคัญของระบบโปรยกรองคือ ระบบกระจายน้ำเข้า(Distribution System)ตัวกรอง (Filter Media)และระบบระบายน้ำทิ้ง (Underdrain System)โดยที่ระบบกระจายน้ำเข้ามีหน้าที่ทำให้พื้นที่ภาคตัดขวางของฟิลเตอร์ได้รับน้ำเสียเท่ากันทุกส่วน วัสดุตัวกลางซึ่งอาจเป็นหิน หรือพลาสติกจะใช้เป็นที่เจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ระบบระบายน้ำซึ่งอยู่ตอนล่างของฟิลเตอร์มีหน้าที่รับน้ำเสียที่ไหลผ่านวัสดุตัวกลาง และระบายอากาศให้กับฟิลเตอร์
ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของระบบโปรยกรอง
1.ภาระปริมาณน้ำ (Hydraulic Loading)จะต้องมีค่าที่สูงเพียงพอที่จะทำให้ฟิล์มจุลินทรีย์เปียกอยู่ตลอดเวลา
2.ภาระอินทรีย์ (Organic Loading)
3.ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำสียที่ต้องการ
ระบบโปรยกรองสามารถแบ่งออกได้เป็น3ประเภท ตามภาระปริมาณน้ำและอัตราภาระอินทรีย์
1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบโปรยกรองแบบอัตราต่ำ (Low Rate)ระบบนี้เป็นระบบที่มีขนาดเล็ก ความสูงของฟิลเตอร์อยู่ในช่วง1.5-3เมตร และมีวัสดุตัวกลางเป็นหิน ระบบนี้จะไม่มีการหมุนเวียนน้ำ ดังนั้นภาระปริมาณน้ำ และภาระอินทรีย์จะมีมีความสัมพันธ์กันโดยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของน้ำเสีย ปัญหาที่สำคัญของระบบนี้ คือ เรื่องกลิ่นและแมลงต่างๆ
2.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบโปรยกรองแบบอัตราสูง (High Rate)ระบบนี้สามารถทำงานโดยมีระดับของภาระปริมาณน้ำ และภาระอินทรีย์ เป็นอิสระต่อกันด้วยการปรับอัตราการหมุนเวียนน้ำ การใช้ภาระอินทรีย์สูงต้องใช้ควบคู่กับภาระปริมาณน้ำสูง โดยเฉพาะในกรณีที่มีหินเป็นวัสดุตัวกลางและมีภาระอินทรีย์สูง จุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโตได้ดีทำให้ฟิล์มชีวภาพจับตัวกันหนามากบนหิน การเพิ่มภาระปริมาณน้ำจะทำให้แผ่นฟิล์มบางลง เป็นการป้องกันการอุดตันของฟิลเตอร์ ในกรณีที่ต้องการบำบัดน้ำเสียเบื้องต้นให้กับระบบเอเอส อาจใช้ฟิลเตอร์แบบอัตราสูงที่มีวัสดุตัวกลาง เป็นพลาสติก ระบบนี้หากได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมและถูกต้องจะสามารถผลิตน้ำทิ้งที่มีคุณสมบัติสูงได้โดยใช้ปริมาตรน้อยกว่าฟิลเตอร์แบบอัตราต่ำ และจะไม่เกิดปัญหาเรื่องกลิ่น แมลง และการเกิดไนทริฟิเคชั่น
ระบบโปรยกรองแบบอัตราสูงนี้ จะรับภาระบีโอดีได้สูงกว่าอัตราต่ำประมาณ3-4เท่า การหมุนเวียนน้ำทำให้ฟิลเตอร์ได้รับอัตราไหลสูงกว่าแบบอัตราต่ำประมาณ10เท่า ฟิลเตอร์แบบนี้จะมีความสูงเพียง1-2เมตร และมีอัตราหมุนเวียนน้ำประมาณ100-250%ข้อที่ควรระวัง คือ จะมีการหลุดของเมือกที่หนาเกินไป ทำให้น้ำทิ้งมีของแข็งแขวนลอยสูง
3.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบโปรยกรองแบบอัตราสูงพิเศษ (Super-rate Filter)ระบบนี้มักถูกเรียกว่าRoughing Filterเนื่องจากมีหน้าที่กำจัดสารอินทรีย์บางส่วนเท่านั้น ตัวกลางที่ใช้ในระบบมักเป็นตัวกลางพลาสติก ในทางปฏิบัติจะใช้เป็นระบบขั้นต้นก่อนบ่อเติมอากาศของระบบเอเอส
ตัวอย่างระบบบำบัดน้ำเสียแบบโปรยกรอง(Trickling Filters)
2.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor; RBC)
ระบบแผ่นจานหมุนชีวภาพเป็นระบบบำบัดน้ำเสียทางชีววิทยาให้น้ำเสียไหลผ่านตัวกลางลักษณะทรงกระบอกซึ่งวางจุ่มอยู่ในถังบำบัด ตัวกลางทรงกระบอกนี้จะหมุนอย่างช้า ๆ เมื่อหมุนขึ้นพ้นน้ำและสัมผัสอากาศ จุลินทรีย์ที่อาศัยติดอยู่กับตัวกลางจะใช้ออกซิเจนจากอากาศย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียที่สัมผัสติดตัวกลางขึ้นมา และเมื่อหมุนจมลงก็จะนำน้ำเสียขึ้นมาบำบัดใหม่สลับกันเช่นนี้ตลอดเวลา
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ระบบบึงประดิษฐ์
ปัญหาทางด้านเทคนิคมีน้อย เนื่องจากเป็นระบบที่อาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบคือ พืชที่นำมาปลูกไม่สามารถเจริญเติบโตเพิ่มปริมาณตามที่ต้องการได้ อาจเนื่องมาจากการเลือกใช้ชนิดของพืชไม่เหมาะสม สภาพของดินไม่เหมาะสม หรือถูกรบกวนจากสัตว์ที่กินพืชเหล่านี้เป็นอาหาร เป็นต้น
ประโยชน์ที่ได้จากบึงประดิษฐ์